วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญา เหยือกแก้ว

อาจารย์สอนวิชาปรัชญาเดินเข้าห้องเรียน 
หยิบเหยือกแก้วขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไปจนเต็ม
แล้วถามนักศึกษา "พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง?"


แต่ละคนคิดว่าอาจารย์จะมาไม้ไหน ก่อนจะตอบพร้อมกัน "เต็มแล้ว..."

อาจารย์ยิ้มไม่พูดอะไร แล้วเทกรวดลงไปในเหยือกแล้วเขย่าเบาๆ
กรวดไหลลงไปแทรกอยู่ระหว่างลูกเทนนิสจนแน่นเหยือก

เขาถามอีก "เหยือกเต็มหรือยัง?"

นักศึกษามองพักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ "เต็มแล้ว..."

เขาเลยเททรายลงไปในเหยือก เขย่าจนทรายอัดแน่นแทบล้นเหยือก

แล้วถามอีกครั้ง "เหยือกเต็มหรือยัง?"

เพื่อป้องกันการหน้าแตก นักศึกษาปรึกษากันอยู่นาน แล้วตอบอย่างหนักแน่น
"คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์"

"แน่ใจนะ"
"แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ"

คราวนี้เขาเทน้ำใส่เหยือกจนซึมผ่านทรายลงไปหมด
ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยกใหญ่

"ผมอยากให้พวกคุณจำบทเรียนวันนี้ไว้ เหยือกใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา

ลูกเทนนิสเปรียบเหมือนเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต
เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก และเพื่อน
เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจจริงๆ สูญเสียไปไม่ได้....

เม็ดกรวดเหมือนสิ่งสำคัญรองลงมา เช่น งาน บ้าน รถยนต์

ทรายก็คือเรื่องอื่นที่เหลือเล็กๆน้อยๆ ที่เราจำเป็นต้องทำ
แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้....

เหยือกเปรียบกับชีวิตของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน
คือมัวหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ อยู่ตลอดเวลา
ชีวิตเต็มแล้ว...เต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด
ไม่มีที่เหลือใส่ลูกเทนนิส..."

"ชีวิตของเราทุกคน...ถ้าเราใช้เวลาหมดไปกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ
เราจะไม่มีที่ว่างในชีวิตไว้สำหรับเรื่องสำคัญกว่า...

เพราะฉะนั้นในแต่ละวัน ต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุข

ใช้ชีวิตเล่นกับลูกๆ 
หาเวลาไปตรวจร่างกาย
พาคู่ชีวิตกับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด
ชวนกันออกกำลังกาย เล่นกีฬาร่วมกันสัก 1-2 ชั่วโมง
เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต
เราต้องดูแลเรื่องที่สำคัญที่สุดจริงๆ
ดูแลลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด...

...หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือ เราจึงเอามาสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา


นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถา

"แล้วน้ำที่เทใส่ลงไป หมายถึงอะไรครับ ?"

เขายิ้มพร้อมกับบอกว่า 
"การที่ใส่น้ำลงไปเพราะอยากให้เห็นว่า แม้ว่าชีวิตของเราจะวุ่นวายสับสนเพียงใด

คุณยังมีที่ว่างสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กันเสมอ...

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151674686067851&set=a.101985222850.91691.763387850&type=1&theater

น้ำซาวข้าวสิ่งดีที่ถูกลืม...


น้ำซาวข้าวสิ่งดีที่ถูกลืม...

กาลละครั้งหนึ่งนานมาแล้วตอนย้ายเข้าเมืองใหม่ๆแม่มักจะทำน้ำซาวข้าวใส่เกลอเค็มให้กินแทนนมโรงเรียนในสมัยนี้แหมให้คนกินนมวัวเดี๋ยวก็ฉลาดเป็นวัวกันหมดแย่เลย แซวกันพอหอมปากหอมคอมาเข้าเรื่องกันดีกว่า

น้ำข้าวมี 2 แบบ

1.น้ำข้าวที่เกิดจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ เชื่อกันว่าน้ำข้าวเป็นอาหารอย่างดีสําหรับคนป่วยที่รู้สึกเบื่ออาหารเพราะ เกิดการเสียสมดุลของระบบย่อยอาหาร ส่วนคนปกติที่ไม่ป่วยก็สามารถทานน้ำข้าวได้เช่นกัน เพราะน้ำข้าวมีคุณค่าและสารอาหารมากมายเช่นเดียวกับข้าว อีกทั้งย่อยง่าย ไม่ทําให้ท้องอืด ท้องเสีย และร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอได้ทันที คนป่วยจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น น้ำข้าวมีวิตามินอีสูง และมีคุณสมบัติเป็นยารสเย็นช่วยบำรุงร่างกาย รวมถึงแก้ร้อนในและใช้ถอนพิษผิดสำแดง และยังใช้แก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง และช่วยขับปัสสาวะด้วย

2.น้ำข้าวที่เกิดจากการซาวข้าว ซึ่งน้ำข้าวชนิดนี้มีสรรพคุณคือเป็นยารสเย็นเช่นกัน ในยุคที่น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำหายาก ใช้น้ำซาวข้าวน่าจะสะดวกกว่า เชื่อว่าน้ำซาวข้าวขจัดรังแคได้ โดยนำน้ำซาวข้าวใส่กะละมัง ทิ้งให้ตกตะกอน จากนั้นรินน้ำออก ใช้น้ำที่ตกตะกอนสระผม 2 ครั้ง แล้วสระผมด้วยแชมพูอีกครั้ง ล้างน้ำให้สะอาด ว่ากันว่าผมจะนิ่มปราศจากรังแค วงการเครื่องสำอางยุคกลับสู่ธรรมชาตินำเอาน้ำซาวข้าวผสมกับมะกรูด หรือฝักส้มป่อย เป็นแชมพูสระผมแก้รังแค บำรุงหนังศีรษะ และช่วยรักษาเส้นผมด้วย

นอกจากประโยชน์ที่ว่ามาแล้วน้ำซาวข้าวทั้ง2แบบยังสามารถนำไปขยายจุลินทรีย์แทนการใช้กากน้ำตาลได้อีกด้วยไว้ตอนหน้าจะมาขยายเรื่องนี้ให้อ่านกันครับ





ที่มา ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ)

วิธีสังเกต “ยาเสื่อมคุณภาพ”

วิธีสังเกต “ยาเสื่อมคุณภาพ”

ยาเม็ด ยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา

ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล เม็ดยาอาจเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม

ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน ผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตมาก

ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สี หรือรสเปลี่ยนไป

ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมีลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว

ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าพบว่าเนื้อยาแข็งหรืออ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีของยาเปลี่ยนไป

วิธีการดูว่ายาหมดอายุ คือ ดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งโดยปกติ ถ้าเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปี และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน และครั้งหน้าถ้าจะรับประทานยา อย่าลืมสังเกตดูวันหมดอายุก่อนรับประทานยากันด้วย

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/36194

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"เครื่องดื่มเพิ่มพลังยามเช้า"

"เครื่องดื่มเพิ่มพลังยามเช้า"

น้ำผักหรือน้ำผลไม้ 
เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินซี วิตามินเอ โฟลิคแอซิด และแร่ธาตุ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม สังกะสี นอกจากนั้นในน้ำผักและน้ำผลไม้ยังมีส่วนผสมของน้ำตาลโดยธรรมชาติ ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยให้หายเหนื่อย หายเพลีย ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น

น้ำมะนาว
ลองหาน้ำมะนาวมาดื่มตอนเช้า เพราะในน้ำมะนาวจะมีกรดซิตริก มีวิตามินซีที่นอกจากจะช่วยขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอแล้วยังช่วยให้ร่างกายสดชื่น แถมกลิ่นหอมอ่อน ๆ จากเปลือกที่โดนคั้นยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้อีก 

น้ำขิง
สำหรับคนที่มีอาการเมาค้าง คลื่นไส้ อยากอาเจียน ก็ขอแนะนำน้ำขิงร้อน ๆ สักแก้ว เพราะในขิงมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า จินเจอรอล เป็นสารเคมีประเภทน้ำมันหอมระเหย จัดอยู่ในกลุ่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ทำให้รู้สึกมึนเมา แถมยังแก้อาการเมาได้ดี การทำน้ำขิงให้อร่อยนั้น ควรบุบหัวขิงที่ไม่แก่จัดจนเกินไป ต้มด้วยน้ำร้อนพอเดือด อย่าต้มนานเกินไป เพราะขิงจะเสียรสและกลิ่นไปได้ 

น้ำหวาน
คนที่นอนดึกส่วนใหญ่ยามเช้าจะมีอาการปวดหัว มึนศีรษะ เกิดอาการเครียดทางประสาท ซึ่งอาจเป็นเพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารเช้าที่มีแป้งและน้ำตาลซึ่งจะสามารถช่วยได้ โดยเฉพาะน้ำตาลนั้นจะถูกดูดซึมได้ดีและง่าย ดังนั้นน้ำหวานจะทำให้จิตใจสงบ คลายอาการเครียดและมึนงงได้อย่างดี 

นมถั่วเหลือง 
เหมาะสำหรับคนที่รักสุขภาพ เพราะนมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มที่ให้โปรตีนที่มีคุณสมบัติเหมือนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ 

กาแฟ
กาแฟเป็นเครื่องดื่มยามเช้าของคนทำงาน เพราะกาแฟช่วยกระตุ้นความสดชื่นก่อนลงมือทำงาน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดอาการหอบในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด และเป็นผลดีต่อนักกีฬาในการเพิ่มความทนทานและความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน 

ถ้าอยากรู้สึกสดชื่นยามเช้า ก็ลองหาเครื่องดื่มที่แนะนำมาดื่มกัน
ดูได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : yimwhan

อาหารเป็นยาวันนี้เสนอ....สะระแหน่

พระคุณเจ้าท่านกรุณาถามมา..เรื่องสะระเหน่

อาหารเป็นยาวันนี้เสนอ....สะระแหน่ 

สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุกเลื้อยตามพื้นดิน 
ในตระกูลมิ้นต์ วงศ์กะเพรา 
เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70-150 เซนติเมตร 
ลักษณะของใบคล้ายกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว แต่มีรสชาติคล้ายกับตะไคร้หอม ลักษณะลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ ค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบ ภายในใบเป็นคลื่นยับย่น 
ทุกครัวเรือนนิยมนำใบสะระแหน่มาปรุงอาหารหรือรับประทานแบบสด ๆ ควบคู่กับลาบ น้ำตก ยำ แหนมเนือง เพื่อเพิ่มรสชาติความหอม อร่อย ที่สำคัญยังช่วยดับกลิ่นปากได้อีกด้วย

สารสำคัญที่พบในใบและลำต้นสะระแหน่ คือมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) 
ไลโมนีน (Limonene) 
นีโอเมนทอล (Neomenthol) เป็นต้น 
ส่วนสารอาหารที่สำคัญ คือ สะระแหน่ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ ได้แก่ แคลเซียม 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 538.35 มิลลิกรัม

วิธีใช้สะระแหน่เพื่อสรรพคุณด้านสุขภาพ คือ 
-- ใบสด นำมาตำแล้วพอกแก้ปวดบวม ผื่นคัน 
-- หรือใบสะระแหน่นำมาชงเป็นชาดื่มบรรเทาอาการหวัด ขับเหงื่อ ระบายความร้อน ขับลมในลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร เพราะสารเมนทอลในสะระแหน่มีคุณสมบัติเย็นใช้รักษาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน หลอดลมอักเสบ และหอบหืด นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ได้แก่ 
-- อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 
-- รักษาอาการบิด ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ 
-- แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการปวดแผล โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียดพอกบริเวณที่โดนกัด 
-- รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหูจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
-- นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วย ห้ามเลือดกำเดา ได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่หยอดที่รูจมูก 
-- และรักษาอาการหน้ามืดตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่ ที่สำคัญการรับประทานสะระแหน่ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง

อันนี้หามาเพิ่มให้ค่ะ ประโยชน์ของสะระแหน่ 
-- สะระแหน่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดแล้วนำมาทาผิว
-- ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย
-- ใช้เป็นยาเย็น ดับร้อน และขับเหงื่อในร่างกาย
-- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
-- ช่วยลดรอยคล้ำใต้ตาด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดให้ละเอียดโดยเติมน้ำระหว่างบดด้วยเล็กน้อย แล้วใส่น้ำผึ้งตามลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาทาใต้ตาทิ้ง ไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
-- ช่วยบรรเทาอาการเครียด
-- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ด้วยการดื่มน้ำใบสะระแหน่ 5 กรัมกับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
-- ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่กับขิงสด
-- ช่วยบรรเทาอาการและแก้หวัด น้ำมูกไหล อาการไอ
-- ช่วยรักษาโรคหอบหืด
-- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
-- ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
-- ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
-- ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหลได้ ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
-- ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บปาก เจ็บลิ้น ปวดคอ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน
-- ช่วยแก้แผลในปากด้วยน้ำสะระแหน่ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน
-- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
-- ช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้ว
-- ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร
-- ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง อาการบิด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน
-- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
-- ช่วยแก้อาการจุกเสียดในท้องเด็กได้ ด้วยการใช้ใบสะระแหน่มาตำให้ละเอียดผสมกับยาหอมแล้วนำมากวาดคอเด็ก
-- ช่วยลดอาการหดเกร็งของลำไส้
-- ช่วยรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน
-- ช่วยผ่อนคลายความกดดันของกล้ามเนื้อซึ่งมาจากความเหนื่อยล้า
-- กลิ่นของใบสะระแหน่ช่วยในการไล่ยุงและแมลงต่างๆ ด้วยการนำใบมาบดแล้วนำมาทาที่ผิว
-- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
-- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสะระแหน่มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
-- ช่วยระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด
-- ช่วยแก้อาการปวดบวม ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณดังกล่าว
-- นำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะได้ ช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
-- นำไปใช้ทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทำการบำบัดโดยใช้กลิ่น (อโรมาเธอราพี)
-- มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม ชาสมุนไพร
-- ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
--นิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารหรือรับประทานสดๆ ควบคู่ไปกับลาบ น้ำตก เป็นต้น
-- ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
-- ใบสะระแหน่ช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารอย่างลาบ ยำ และพร่า
-- ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่างๆและเหล่าได้
-- ใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สด ขนมหวาน
-- สะระแหน่ สามารถนำมาสกัดเอาสารเพื่อใช้ในการทำเป็นลูกอม หมากฝรั่งรสมิ้นท์ ชาสะระแหน่

เมื่อทราบสรรพคุณต่าง ๆ ของใบสะระแหน่แบบนี้แล้ว อย่าเขี่ยสะระแหน่ทิ้งเวลารับประทานอาหารนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรงของเราค่ะ

ส่วนสะระแหน่ในรูปเม็ด เป็นยาสมุนไพรจากประเทศอินเดียค่ะ Pudin Hara Pearls เป็นเม็ดสีเขียวใสขนาดจิ๋ว บรรจุสารสกัดจากสมุนไพรชื่อ pudina (บ้านเราเรียกสะระแหน่หรือมิ้นต์)

สรรพคุณ 
เป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่กินมากแล้วปวดท้อง หรือปวดท้องแบบมีลมในกระเพาะ ช่วยย่อย ลดการจุกเสียด ดับกลิ่นอาหาร

วิธีใช้ ถ้าต้องการขับผายลมกินหลังอาหาร 
รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร 
ถ้าน้ำหนักมากกว่า 60 กก. ควรทาน 2 เม็ดค่ะ 
พยายามอย่าเคี้ยวเพราะกลิ่นมิ้นต์เผ็ดแรงมากๆ หลังจากกลืนไปแล้วสักพักจะรู้สึกเย็นที่ท้อง บางคนจะรู้สึกว่าเรอออกมาเป็นกลิ่นมิ้นต์ บางคนก็อาจจะมีการผายลมได้ค่ะ

เม็ดใสสีเขียว แต่ละเม็ดประกอบด้วย
Mentha Oil (Mentha Piperita) - 150 mg
Spearmint Oil (Mentha Spicata) - 30 mg
ขายเป็นแผงตามรูป มี 10 เม็ด

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย Ayurvedic Association of Thailand


น้ำสมุนไพรป้องกันโรค ..... "น้ำใบบัวบก"

น้ำสมุนไพรป้องกันโรค ..... "น้ำใบบัวบก"

ใบบัวบกนี้ยังถือเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิช่วยปัองกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ไหญ่ ซึ่งนับวันจะมีคนเป็นกันมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน

ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ อาจารย์ประจำภาควชาชีวเคมีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำกาฑิจัยเพื่อทดสอบการออกฤทธิทางชีวภาพของสารสกัดจากใบบัวบก ต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญในหนูขาว โดยพบว่าในกล่มหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เปุนมะเร็งลำไส้ใหญ่หลังจากได้รับสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหารประเภทปิ้ง-ย่างนั้น ตรวจพบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งขนาดใหญ่ และมีเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะเป็นเซลล์ร้ายและลุกลาม ในขณะที่กลุ่มหนูขาวซึ่งได้รับสารสกัดจากใบบัวบก ไม่ว่าจะได้รับก่อนหรือได้รับหลังจากการถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็ง

ลำไส้ใหญ่ ตรวจพบว่ามีจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งลดลงถึง 60% ที่สำคัญเซลล์มะเร็งที่พบยังมีขนาดเล็กกว่าและยังไม่เกิดการลุกลามอีกด้วย และที่เป็นเช่นนี้ ก็น่าจะมาจากกรดอะเซียติก (Asiatic acid) ที่อยู่ในสารสกัดใบบัวบกซึ่งมีฤทธิ์ที่ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดการทำลายตัวเองนั้นเอง นอกจากนื้ทีม

วิจัยยังพบวิธีควบคุมการสกัดสารจากบัวบักให้มีปรมาณความเข้มข้นของสารที่แน่นอน และสม่ำเสมอ ทำให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพต่ำไปด้วย

ในการวิจัยครั้งนี้ นอกจากจะพบว่า สารสกัดบัวบกมีสิทธิในการต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว เขายังพบว่าสารสกัดจากตะไคร้ ก็ให้ผลดีไม่แพ้กัน โดยในตะไคร้นั้นมีสารสำคัญชื่อ ซิทรอล(citral) ที่มีฤทธิ์ในการหยุดวงจรการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ปัจจุบันจึงมีความพยายามทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งจากบัวบกและตะไคร้ควบคูกันไป

ที่มา นิตยาสาร Bewell no15. vol.5 กรกฏาคม 2553


วิธีทำน้ำใบบัวบก

เครื่องปรุง 

ใบบัวบก 500 กรัม

น้ำต้มสุก 6 ถ้วยตวง

เกลือป่น 2 ช้อนชา

น้ำตาลทราย 2 ถ้วย


วิธีทำ 

1.นำใบบัวบกมาล้างทำความสะอาด โดยแช่ ในน้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 1 กาละมัง แช่ทิ้งไว้สักครู่ ค่อยนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง 

2.นำใบบัวบกมาหั่นใบหยาบๆ จากนั้นนำไปใส่ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำสุกลงไปจะได้ปั่นง่ายๆ จากนั้น ปั่นละเอียด นำมากรองผ่านผ้าขาวบาง ทำจนหมด ดื่มสดๆทันทีก็ได้ หรือถ้าชอบหวานให้ผสมกับน้ำเชื่อม

3.การทำน้ำเชื่อมโดยการตั้งหม้อใส่น้ำ พอน้ำเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น 

4.เวลาจะดื่มให้ใส่น้ำเชื่อม 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำใบบัวบก 1 แก้ว


นอกจากนี้ใบบัวบกยังมีสรรคุณอีกมากมาย

1. บำรุงสมองนำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ มาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว
2. บำรุงหัวใจ ต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว 
3. แก้ร้อนในกระหายน้ำจะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ
4. แก้ช้ำในนำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ
5. ความดันโลหิตสูงต้มน้ำใบบัวบกต้ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้น ควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์
6. ลดอาการแพ้ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง
7. รักษาบาดแผลสดใช้ตำและพอกที่แผล สามารถทำลายเชื้อโรคได้ 
8. ดับพิษไข้คั้นเอาน้ำสด ดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ไม่ต้องผสมน้ำเลย ดื่ม ๓ เวลา เช้า- กลางวัน - เย็น9. แก้ปวดท้องมวนในท้อง ท้องเสียได้ โดยคั้นเอาน้ำสดๆเข้มข้นดื่มช่วยให้ทุเลาได้
10. แก้บิดใช้ใบบัวบกสอเข้มข้น ดื่มสดๆ เพื่อทำลายเชื้อบิด ดื่มเช้า - กลางวัน - เย็น ประมาณ ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล
11. แก้ดีซ่านเอาบัวบกมาคั้นน้ำดื่มสดๆ ๓ เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น 
12. แก้อาเจียนเป็นเลือดคั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น
13. รักษาอาการตาแดงตำใบบัวบกสดๆหลับตาแล้วพอกที่ตาเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนยา บ่อยๆ หายได้ในที่สุด
14. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
15. แก้เจ็บคอเอาบัวบกสดเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วจิบเอา แก้อาการเจ็บคอดี มาก จิบได้เรื่อยๆ
16. ขับปัสสาวะนำใบบัวบกสดคั้นน้ำ ดื่มกันสดๆ อาจเติมความหวานเล็กน้อยก็ได้
17. แก้กามโรคเป็นน้ำกระสายยา ในการรักษากามโรค กินร่วมกับยาอื่นได้
18. แก้โรคเรื้อนใช้ใบบัวบกคั้นน้ำดื่มทุกๆวัน เช้า-เย็น และตำพอกแผลด้วย
19. ป้องกันมะเร็งยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดื่มบ่อยๆ
20. แก้อาการอ่อนเพลีย


ที่มา:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=198643

โดย...... AU Kanchana / Ayuravedic Association Of Thailand

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หญ้าหวานปลอดภัยทั้งกินแบบสมุนไพร และในรูปแบบสารสกัดสตีรีโงไซค์

หญ้าหวาน 

เป็นพืชที่มีคุณสมบัติเป็นรสหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อการนำมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางการเกิดโรค เช่น พวกโรคอ้วน โรคเบาหวาน

หญ้าหวานเป็นพืชที่มีการกล่าวขวัญกันมานานมาก มีงานวิจัยมากมาย แต่หญ้าหวานก็ไม่เคยที่จะมีข้อสรุปที่จะส่งผลให้ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์ใน ทางเศรษฐกิจกับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่ ญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างเลี่ยงสารหวานอื่นๆ หันมากินหญ้าหวานแทนกัน และประเทศที่ปลูกหญ้าหวานอย่างจีน, บราซิล และอื่นๆ ต่างได้รายได้จากหญ้าหวานเป็นกอบเป็นกำ โดยที่คนไทยไม่มีสิทธิบริโภค เพียงแต่เป็นผู้ส่งออกได้บ้างเล็กน้อย แล้วคนไทยก็มากินสารหวานที่นำเข้าแทนทั้งๆ ที่ชาติอื่นเขากำลังเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเลิกบริโภคสารหวาน ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมี เพราะมีข่าวว่าอาจไม่ปลอดภั
ปัญหาหญ้าหวานอยู่ที่ใด คำตอบคือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่ายังไม่พอ นักวิจัยได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัย ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์แผนไทย เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีข้อสรุปปัญหาและคำถามว่า


หญ้าหวานคืออะไร ใครกินบ้าง

 
หญ้าหวานเป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni พืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี 1887 คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปี ต่อมา ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 17 ปีมาแล้ว


หญ้าหวานปลอดภัยหรือไม่

 
หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน "สตีวิโอไซท์" มีความหวานกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า ปัจจุบันไทยปลูกได้ทางภาคเหนือ และมีสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ไทยสกัดสารหวาน สตีวิโอไซด์ได้ด้วยตนเอง โดยทีมนักวิจัย ม.เชียงใหม่ และในไทยมีโรงงานผลิตสารตัวนี้แล้วด้วยซ้ำ


ในหญ้าหวานมีสารกลัยโคซัยด์(glycosides) 88 ชนิด สารสำคัญคือ Rcbaudiosides A,B,C,D,E ; Dulcoside A และ Stevioside สาร Stevioside ซึ่งเป็นสารหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมาก โดยปริมาณสูงสุดในหญ้าหวานทั่วไปและเป็นสารที่มีรสหวานจัดจะมีความหวาน ประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

การออกรสหวานของสารหวานในหญ้าหวานจะไม่เหมือนกับของน้ำตาลทรายทีเดียว เพราะจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อยและรสหวานจะจางหายไปช้ากว่า น้ำตาลทราย นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีแคลลอรี่ต่ำมากเมื่อเทียบ กับน้ำตาลทราย เนื่องจากไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย และพบอีกว่า สารหวานในหญ้าหวานทนต่อความร้อนและสภาวะความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี รวมทั้งยังเป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันต่ำและปลอดภัยสูง 

พญ.เพ็ญนภาบอกว่า จากคุณสมบัติของสารหวานดังกล่าว ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นสารที่ให้ความหวานสำหรับอาหารและเครื่องดื่มบาง ประเภท โดยใช้แทนน้ำตาลทรายบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญคือ ลดปริมาณแคลลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งไม่สามารถบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากๆ ได้ นอกจากนั้น ในหลายประเทศก็มีการยอมรับหญ้าหวานอย่างเป็นทางการ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ บราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยและบราซิลก็ยังมีประวัติการบริโภคหญ้าหวานมาเป็นระยะเวลานาน 

จากข้อมูลเบื้องต้นน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการแพทย์ไทย ที่จะส่งเสริมและแนะนำให้ผู้ป่วยหรือกลุ่มประชาชนที่รักสุขภาพ มีการบริโภคความหวานจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากสมุนไพรเพื่อเป็นการลด ต้นทุนหรือลดการนำเข้าสารหวานสังเคราะห์จากต่างประเทศได้ 

หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/กก. น้ำหนัก ซึ่งกินได้สูงมาก ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้ว เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้าหวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง แถมได้ผลพลอยได้ คือลดน้ำตาลในเลือด และอาจลดความดันโลหิตได้ด้ว
 

หญ้าหวานทำให้เป็นหมันจริงหรือ?
 
มีรายงานระบุถึงความหน้าเป็นห่วงว่า ชาวปารากวัยกินหญ้าหวานทำให้คุมกำเนิดหรือลดอสุจิลง เป็นเรื่องที่สงสัย ทำให้ประเทศไทยใช้ประเด็นนี้อ้างไม่อนุญาตหญ้าหวานให้คนกิน จากรายงานต่างๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงานต่างๆ แล้วยืนยันสารสกัดจากหญ้าหวาน คือสตีวิโอไซด์ เมื่อป้อนหนูถึง 3 ชั่วอายุ 3 รุ่น ไม่พบการก่อกลายพันธุ์, แต่อย่างใดยังคงขยายพันธุ์ได้ตามปกติ ญี่ปุ่นกลับไม่กลัวประเด็นนี้ใช้กันมา 17 ปี ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดพิษแต่อย่างใด
 

คนไทยกินหญ้าหวานแบบใด?
 
คนไทยกินหญ้าหวาน 2 แบบ แบบสมุนไพรมีการนำใบหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานในชาสมุนไพรหรือยาชงสมุนไพร และแทนน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มหมอเมือง กลุ่มสันติอโศก และมีการนำสมุนไพรมาใส่ซองผสมกับสมุนไพรอื่นทั้งๆ ที่มีประกาศห้ามใช้ในประเทศ จึงเป็นเรื่องหนักใจที่หมอเมืองถูกจับซ้ำซากที่พยายามใช้หญ้าหวานในรูปแบบ ดังกล่าว และนักวิจัยที่ทำเรื่องนี้ต่างก็ท้อใจไปตามๆกัน


คนไทยกลุ่มหนึ่งยังคงใช้สารหวานสังเคราะห์ยี่ห้อดังๆ จากต่างประเทศในรูปแบบโดยตรงและโดยอ้อม คือ ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ จากข้อสรุปของ อย. เมื่อได้รับข้อเสนอจากสถาบันฯ ให้ยกเลิกประกาศหลังจากประชุม เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญมีมติว่าหญ้าหวานไม่ปลอดภัยยังไม่ควรเลิกประกาศนั้น เพราะข้อมูลไม่พอเพียง เป็นข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกับญี่ปุ่น อเมริกา
ข้ออ้างคืองานวิจัยในรูปแบบสารสกัดหยาบ คือต้มน้ำชงน้ำธรรมดาแบบชาวบ้านกิน มีงานวิจัยสนับสนุนน้อย มีแต่งานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดสตีวิโอไซด์ เป็นส่วนใหญ่ เป็นข้ออ้างที่ทีมวิจัยชุดแรกที่ประชุมโดยสถาบันฯ ต้องตกตะลึงว่า ประเทศไทยมีมาตรฐานสูงกว่าอเมริกาและญี่ปุ่นมาก หญ้าหวานจึงขมต่อไป และต้องขอชมเชยทีมงานจากเชียงใหม่นำโดย ภก.รศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย , รศ.ดร.ด้วง พุธศุกร์, อจ.ไมตรี สุทธจิตต์ และคณะทั้งหลาย จำนวนกว่า 20 คน ได้กลับไปทบทวนปัญหาอีกครั้งและได้ทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อปิดจุดโหว่หญ้าหวานต่อไป ไม่หยุดยั้งด้วยปรารถนาให้เกษตรกรผู้ยากไร้ได้มีทางเลือกต่อไป


ผลการวิจัยประเด็นกินแบบชาวบ้านมิใช้สารสกัด ถูกรายงานนำเสนอดังนี้

 
สารสกัดโดยน้ำหรือสกัดอย่างหยาบของหญ้าหวานไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ ไม่มีผลต่อการเป็นหมันทั้งในระยะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง, และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา นอกจากนี้ยังได้พิจารณาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานวัตถุดิบไว้พร้อม นอกจากนี้ยังได้ทดลองเอาหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น มะตูม ก็ไม่มีอะไรและถึงความเป็นพิษอันตรายแต่อย่างใด ข้อมูลเหล่านี้ คงทำให้ผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คน ยังติดใจอยู่ สบายใจได้มากขึ้น และอาจารย์วีรสิงห์ เมืองมั่น จาก รพ.รามาธิบดี ก็ได้วิจัยหญ้าหวานให้อาสาสมัครแล้วพบว่าปลอดภัย และการใช้หญ้าหวานอย่างปลอดภัย คือ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วัน หญ้าหวานในรูปสมุนไพรมิใช้สารสกัดจึงปลอดภัยมาก
 

ข้อมูลทางการเกษตร

หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-50 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเล็กลำต้นแข็ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,2000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล บางคราวปลูกหลังทำนา 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 10,000-12,000 ต้น ดูแลน้ำอย่างสม่ำเสมอและกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวใบทุก 3-4 เดือน ได้ผลผลิต 600-1,000 กก. สดต่อไร่ ต่อปี ลงทุน 12,000 / ไร่ จะได้รายได้ 20,000 ไร่ กำไร 8,000 บาทต่อไร่
*จากข้อมูลดังกล่าว หญ้าหวานปลอดภัยทั้งกินแบบสมุนไพร และในรูปแบบสารสกัดสตีรีโงไซค์ สมควรสนับสนุนเป็นพืชเศรษฐกิจครบวงจรต่อไป

ที่มา : http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/herbs/herbal09.htm