วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

solar roof ..ที่นี่ .. ประเทศไทย..

Solar roof ..ที่นี่ .. ประเทศไทย..

ตามประกาศจากหน่วยงานของรัฐ สำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์อาคารบ้านเรือน ขนาด 5 กิโลวัตต์ ต่อหลัง.... ดู..แล้ว..งง.. 8 จังหวัด .. ให้ติด 5 หลังคาเรือน .. แล้วจะตกจังหวัดละกี่หลังคาเรือน...เสมือนมีขนม 5 ชิ้น เรียกเด็กมารับ 8 คน.. แบ่งไ่ม่ได้.. จะต้องมีเด็กที่ไม่ไ้ด้กินขนม 3 คน เดินคอตก กลับบ้าน....แค่นี้ยังไม่พอ .. ก้ต้องมีการส่งคำขอ .. อาจจะมากกว่าการที่เด้กสอบเอ็นทรานซ์ คณะดี ๆ สมัครเป็นหมื่น .. แต่..รับแค่ 100 .. คน

แล้วที่ให้ติดโซลาร์ 5,000 วัตต์ กับค่าใช้จ่าย 300,000.- บาท .. ตกวัตต์ละ 60 บาท... เอาว่า ติดเอง แบบที่เดินทางสอนและติดทั่วประเทศ.. ใช้แผ่นอะมอร์ฟัสไวแสงจากญี่ปุ่น 121 วัตต์ ราคา 5,000.- บาทต่อแผ่น ใช้ทั้งหมด 42 แผ่น เท่ากับ 5,040 วัตต์ คิดเป็นราคาแผ่น 210,000.- บาท และ กริดไทด์ 3,000 วัตต์ ญี่ปุ่น ราคาประมาณ 30,000.- บาท ค่าโครงเหล็ก สาย เบรกเกอร์ ประมาณ 12,000.- บาท รวมทั้งสิ้น 252,000. - บาท... นี่ใช้ของญี่ปุ่น ของคุณภาพแล้วนะ .

. แต่ ช้าก่อน เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา มีโครงการโซลาร์เือื้ออาทร ได้มีการปรับภาษีนำเข้าโซลาร์เซลล์ ให้เหลือ 0 % นับตั้วแต่นั้นมา ทำให้โซลาร์เซลล์ราคาถูกลงมาเรื่อย ๆ. ขอบคุณพี่ชาย . วันหนึ่งก็มีการประกาศว่า โซลาร์เซลล์ที่ติดไดโอดบายพาสในกล่องเทอร์มินอลด้านหลังแผ่น คิดพิกัดเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า .. จะต้องเสียภาษีนำเข้่า 10 % และ แว๊ท 7 %จากฐานราคาที่รวมภาษีนำเข้าแล้ว ยุ่งละซิ เพราะ ของคุณภาพจะฝังไดโอดแบบซีลมาจากโรงงาน ..ทำให้ราคาแผ่นโซลาร์ ที่มีไดโอดต้องมีต้นทุนสูงขึ้นเป็น 10.7 % ทันที่.. แต่ก้ยังโชคดี.. ไม่รู้จีนรู้ได้งัยว่าจะเก็บภาษีแบบนี้ ก็เลยมาแบบไม่ต้องใส่ไดโอด.. สาธุ ..
อย่าเพิ่งดีใจว่าติดเองก็ได้ ถึงหาของเองก็ไม่รู้ได้หรือไม่ เพราะอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ จะต้องผ่านการเซอร์ก่อน.. ไม่เซอร์ไม่ผ่าน.. ไม่มีสิทธิ์.. ยังมีอีก..แม็ก ..มีประกาศจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง.. ผู้ที่จะติดโซลาร์ได้ .. จะต้องมีใบอนุญาติ..จากหน่วยงานก่อน .. แล้วทีมงานอาสาทำงานโซลาร์ ติดวัด สวน โรงเรียน ศุนยืเรียนรู้ มาตั้ง 4 ปีแล้ว ไม่มีใบอนุญาติ สงสัย .. ทำผิดกฏของรัฐแล้วเรา..คุก.. ๆ ซะแล้ว..

ยังไม่พอ ท่านจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ คณะกรรมการประกอบกิจการพลังงานและ ค่ามิเตอร์ TOU อีกเท่าไร... ประมาณ 30,000.- บาท ด้วยนะ.. จะบอกให้..

คราวนี้มาดุค่าไฟแบบ feed in tallip... เป็นค่าไฟที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง.. อะไรวะ.ตลอด ..25 ปี หมายความว่า การไฟฟ้าจะรับซื้อ... 6.96 บาท... ต่อหน่วย เป็นเวลา 25 ปี... แต่เมื่อต้นทุนคืนแล้ว ราคารับซื้อจะลดลงกว่านี้อีกนะ .. อาจจะเหลือ 5.5 บาทต่อหน่วยก็ได้

แต่การรับซื้อแบบนี้ แตกต่างจากการรับซื้อที่รัฐรับซื้อ แบบ มีค่า ADDER 8 บาท กับโครงการโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ที่คิดราคาค่าไฟฐาน บวก FT. บวก ADDER ซึ่งรวมแล้ว โซลาร์ฟาร์มจะได้.. 12 บาท...ต่อหน่วย และ....ขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามค่าไฟฐานและค่า FT1 ที่ขึ้นเท่าไรเท่ากัน 10 ปี หรืออาจจะมีการต่ออายุไปอีกก็ได้ .

มาดูมิเตอร์ TOU ที่ท่านจะต้องเปลี่ยนจากแบบธรรมดาที่เป็นล้อหมุน มาเป็นแบบดิจิตอล คิดค่าไฟตามเวลา ตามค่าพีค... ตามค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์... ที่กำลังมีปัญหาที่จะต้องปรับปรุงค่า เหล่านี้ตามวัด. สิ่งที่ท่านจะต้องจ่าย . ค่าไฟกลางวันของมิเตอร์แบบ TOU ตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ราคาหน่วยละ 5.2674 บวก FT 0.95 บาท เท่ากับ 6.217 บวกแว๊ท 7% เท่ากับ 6.65 บาทต่อหน่วย ... ส่วนกลางคืนจ่าย 2.1827 บวก Ft. บวกแว๊ท เท่ากับ 3.35 บาท หลัง 4 ทุ่ม ถึง 9 โมงเช้่า

โซลาร์ขนาด 5,000 วัตต์ ทั้งปี ถ้าเป็นแผ่นอะมอร์ฟัส จะคิด วันละ 5 ชั่วโมง คูน 365 วัน คูณ0.7 ซึ่งเป็นค่าที่ทดสอบของจริง 1 ปีมาแล้ว เท่ากับ 6,387 หน่วยต่อปี หรือเท่ากับ 532 หน่วยต่อเดือน ... และถ้าเป็นแผ่นแบบคริสตัลไลน์ จะคูณ 0.5 เท่ากับ 4,562 หน่วยต่อปี .. หรือเท่ากับ 380 หน่วยต่อเดือน... แต่ตัวเลขที่รัฐประเมินมากับอัตรการคืนทุน เท่ากับ 6,500 หน่วยต่อปี .. เจริญ..

บ้านเรือนที่พอจะมีกำลังติดแผ่นโซลาร์ได้ น่าจะมีการใช้ไฟฟ้าเดือนละประมาณ 2,500.- บาท หรือ 625 หน่วยต่อเดือน .. ให้ท่านไปคิดเองว่า ใช้ 625 หน่วยต่อเดือน ราคา TOU สารพัด... กับหน่วยที่ได้ 532 หรือ 380 หน่วย ต่อเดือน และต้องลงทุน 340,000.- ได้ค่าไฟ 6.96 บาทต่อหน่วย และ ซื้อไฟ 6.65 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 25 ปี เอาไหม....

ที่มา Phakdee Nun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น